10 พ.ย. 2553

วิชา ฐานข้อมูลเบื้องต้น 4122201 ตอนเรียน A1


การบ้านบทที่ 1 ประจำวันที่ 10 พฤศจิกายน 2553
1. จงสรุปแนวคิดในการจัดการข้อมูลจากอดีตถึงปัจจุบัน
ตอบ :  ในอดีตการจัดเก็บข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นแฟ้มข้อมูล ข้อมูลเหล่านั้นอาจไม่ใช่ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน การขยายระบบจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงการจัดเก็บข้อมูลด้วย ซึ่งการเก็บข้อมูลแบบเดิมทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ในปัจจุบันนี้ข้อมูลต่างๆ ได้ถูกจัดการไว้อย่างเป็นระเบียบ โดยเก็บไว้ในสิ่งที่เรียกว่า แฟ้ม (File)
2. โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ :  - บิต (bit) : ประกอบไปด้วยเลขฐานสอง ใช้แทนค่าหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยหน่วยที่ใช้มีค่า 0 และ 1 เท่านั้น
            - ไบต์ (byte) : คือการนำเอาบิตหลาย ๆ บิตมาเรียงต่อกัน ตัวอย่างเช่น 1 ไบต์มี 8 บิต ก็คือการนำเอาเลข 0 กับ 1 มาเรียงต่อกัน 8 ตัวจนครบ 1 ไบต์ เพื่อให้ได้ อักขระหนึ่งตัว เช่น 01000001 คือเลขฐานสองที่มี 8 บิตเป็นรหัสแทนแล้ว
            - ฟิลด์ (field) : คือการนำเอาอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปมารวมกันเพื่อให้เกิดความหมาย เช่น ฟิลด์ std_name ใช้เก็บข้อมูลนักศึกษาฟิลด์ salary ใช้เก็บข้อมูลเงินเดือน
            เรคคอร์ด (record) : คือกลุ่มของฟิลด์ที่มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ ใน 1 เรคคอร์ดประกอบด้วยฟิลด์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกันเป็นชุด เช่น เรคคอร์ดของพนักงาน
            - ไฟล์ (file) : คือกลุ่มของเรคคอร์ดที่สัมพันธ์กัน เช่น แฟ้มประวัติของพนักงาน จะประกอบไปด้วยเรคคอร์ดของพนักงานทั้งหมดในบริษัท ดังนั้นหนึ่งไฟล์จะต้องมีอย่างน้อยหนึ่งเรคคอร์ด เพื่อใช้ในงานข้อมูล
            - Database : การรวมกันของหลาย files/tables
3. การเก็บข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูลมีข้อมูลจำกัดอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ :   1)  มีความซ้ำซ้อนของข้อมูล (Redundancy)  สืบเนื่องจากข้อมูลถูกเก็บแยกจากกัน ทำให้ไม่สามารถควบคุมความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ ทำให้สูญเสียพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมากขึ้น และก่อให้เกิดความผิดพลาดในการดำเนินการกับข้อมูล         
                2) ความยากในการประมวลผลข้อมูลในแฟ้มข้อมูลหลายแฟ้มข้อมูล  ในการสร้างรายงานของแต่ละระบบเช่นการสร้างรายงานการลงทะเบียน ว่าแต่ละวิชามีนักศึกษาคนใดบ้างที่ลงทะเบียนเรียน จะต้องมีการเขียนโปรแกรมประยุกต์เช่นโปรแกรมการลงทะเบียน เพื่อทำการดึงข้อมูลรหัสวิชา รหัสนักศึกษา จากแฟ้มข้อมูลการลงทะเบียน และต้องนำรหัสวิชาที่ได้ไปค้นชื่อวิชาและจำนวนหน่วยกิตที่มีรหัสวิชาตรงกันจากแฟ้มรายวิชา ส่วนรหัสนักศึกษาที่ได้ก็จะต้องนำไปค้นชื่อนักศึกษาที่มีรหัสตรงกันจากแฟ้มนักศึกษา ซึ่งโปรแกรมการลงทะเบียนที่เขียนจะต้องมีความซับซ้อนพอสมควร เนื่องจากต้องมีการจัดการกับแฟ้มข้อมูลมากกว่า 1 แฟ้มข้อมูลขึ้นไป 
                3) ไม่มีผู้ควบคุมหรือรับผิดชอบระบบทั้งหมด  เนื่องจากผู้เขียนโปรแกรมด้านใดด้านหนึ่ง ก็จะดูแลเฉพาะข้อมูลที่จะมีการใช้กับงานของตนเท่านั้น
                4) ความขึ้นต่อกัน (Dependency)  โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลมักจะเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมประยุกต์ที่สร้างขึ้น ตัวอย่างเช่น ถ้ามีการเขียนโปรแกรมประยุกต์ด้วยภาษาCOBOL โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลที่จะใช้เช่นชื่อเขตข้อมูลต่าง ๆ ขนาดของเขตข้อมูล จะต้องประกาศไว้ในส่วนของ DATA DIVISION ของโปรแกรมประยุกต์ ปัญหาก็คือว่าถ้ามีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลเมื่อใด ก็จะต้องไปทำการแก้ไขโปรแกรมประยุกต์ คือต้องไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแฟ้มข้อมูลในส่วน DATA DIVISION นั้นด้วย 
4. ฐานข้อมูลคืออะไร และยกตัวอย่างฐานข้อมูลที่นักศึกษารู้จักมาสองระบบ
ตอบ : ฐานข้อมูลประกอบด้วยรายละเอียดข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน ซึ่งจะถูกนำมาใช้งานในด้านต่าง ๆ โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกจัดเก็บไว้ให้เป็นศูนย์กลางอย่างมีระบบซึ่งสามารถเรียกใช้ร่วมกันได้ เพื่อประโยชน์ในการจัดการและการเรียกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธฺภาพ
ตัวอย่างฐานข้อมูล
        1.ระบบธนาคารซึ่งข้อมูลที่จัดเก็บอาจจะประกอบด้วยรายละเอียดของลูกค้า  โดยจัดเก็บชื่อ  ที่อยู่  รายการฝากเงินรายการสินเชื่อ  ยอดคงเหลือของบัญชีแต่ละประเภท
        2.ระบบจองตั๋วเครื่องบิน  ซึ่งข้อมูลที่จัดเก็บอาจประกอบด้วยรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับแต่ละเที่ยวบิน  รายละเอียดเกี่ยวกับราคาตั๋ว  และจำนวนตั๋วที่ยังคงเหลืออยู่  พร้อมทั้งข้อมูลของลูกค้า  ซึ่งอาจจะเก็บชนิดของอาหารและหมายเลขที่นั่งที่ลูกค้าต้องการด้วย
5. ฐานข้อมูลช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเก็บข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
ตอบ ฐานข้อมูลช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเก็บข้อมูล ดังนี้
         1. ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล เมื่อมีข้อมูลหลายที่ แต่ละหน่วยงานจัดเก็บข้อมูลเอง อาจมีข้อมูลในส่วนที่เหมือนกันหลายส่วน เมื่อนำคอมพิวเตอร์มาใช้จัดเก็บข้อมูลให้อยู่ในรูปของฐานข้อมูลจะทำให้การเก็บข้อมูลไม่เกิดการซ้ำซ้อน
         2. ทำให้เกิดความสอดคล้องของข้อมูล เมื่อมีการแก้ไขข้อมูลที่ใดที่หนึ่ง ข้อมูลอีกที่หนึ่งก็จะถูกเปลี่ยนไปด้วย
        3. ข้อมูลสามารถใช้ร่วมกันได้ การเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน จะสามารถกำหนดรูปแบบที่แน่นอนได้และสามารถใช้ร่วมกับหน่วยงานอื่นได้ เพราะมีมาตรฐานเดียวกัน
        4. มีความปลอดภัย การที่นำข้อมูลมารวมอยู่ในที่เดียวกัน สามารถวางมาตรฐานในการแก้ไขและป้องกันได้ดีกว่า จึงไม่มีการรั่วไหลของข้อมูลไปสู่ผู้ที่ไม่ควรรู้
        5. สามารถขจัดความขัดแย้งในการใช้ข้อมูลร่วมกัน ก่อนที่จะมีการจัดเก็บข้อมูลต้องมีการตกลงรูปแบบการเก็บอย่างเป็นเอกฉันท์เสียก่อน ทำให้ไม่เสียเวลาในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล
6. ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) คืออะไร มีส่วนสำคัญอย่างไร
ตอบ : คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดการข้อมูลในฐานข้อมูลทั้งการสร้างการเรียกใช้งานการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และยังมีการควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูลอีกด้วยมีที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในระบบติดต่อระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูลเพื่อจัดการและควบคุมความถูกต้อง ความซ้ำซ้อน และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ ภายในฐานข้อมูล ซึ่งต่างจากระบบแฟ้มข้อมูลที่หน้าที่เหล่านี้จะเป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ ในการติดต่อกับข้อมูลในฐานข้อมูลไม่ว่าจะด้วยการใช้คำสั่งในกลุ่ม DML หรือ DDL หรือจะด้วยโปรแกรมต่างๆ ทุกคำสั่งที่ใช้กระทำกับข้อมูลจะถูก DBMS แปล (คอมไพล์เป็นการปฏิบัติการ (Operation) ต่างๆ ภายใต้คำสั่งนั้นๆ เพื่อนำไปกระทำกับตัวข้อมูลภายในฐานข้อมูลต่อไป สำหรับส่วนการทำงานตางๆ ภายใน DBMS ที่ทำหน้าที่แปลคำสั่งไปเป็นการปฏิบัติการต่างๆ กับข้อมูลนั้น
7. ยกตัวอย่างฐานข้อมูลเบื้องต้นกับการดำเนินชีวิตประจำวัน
ตอบ :  ระบบจองตั๋วเครื่องบิน ซึ่งข้อมูลที่จัดเก็บอาจประกอบด้วยรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับแต่ละเที่ยวบิน รายละเอียดเกี่ยวกับราคาตั๋ว และจำนวนตั๋วที่ยังคงเหลืออยู่ พร้อมทั้งข้อมูลของลูกค้า 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น