8 ธ.ค. 2553

วิชา ฐานข้อมูลเบื้องต้น 4122201 ตอนเรียน A1

การบ้านบทที่ 5 ประจำวันที่ 8 ธันวาคม 2553
1. องค์ประกอบที่สำคัญของแบบจำลอง อี-อาร์ มีอะไรบ้าง
ตอบ :  E-R Model หรือแบบจำลองข้อมูล คือ การสร้างแบบจำลองฐานข้อมูลในระดับความคิด (Conceptual Level) โดย E-R Model มีส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วนดังนี้
- เอนทิตื้ (Entity)
- แอททริบิวต์ (Attributes) ของแต่ละ เอนทิตี้ (Entity)
- ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ (Relationship)

2. จงอธิบายความหมายและสัญลักษณ์ของคำต่อไปนี้
ตอบ :
 - เอนทิตี้ (Entity) เป็นสิ่งของหรือวัตถุที่สามารถบอกความแตกต่างจากเอนทิตี้อื่น ๆ ได้ Entity อาจจะเป็น บุคคล, สถานที่, เหตุการณ์ หรือสิ่งของที่เราเลือก เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูล
สัญลักษณ์ที่ใช้ใน เอนทิตี้ (Entity) คือ จะใช้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และมีชื่อกำกับภายในเป็นคำนาม

- รีเลชันชีพ (Relationship) เป็นความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ (Entity) ซึ่งเป็นไปตามชนิดของความสัมพันธ์โดยความสัมพันธ์จะนำเสนอด้วยเหตุการณ์ที่เชื่อมโยงในเอนทิตี้ (Entity) โดยการตั้งชื่อความสัมพันธ์จะใช้คำกริยาที่แสดงการกระทำ เช่น มี, สอน, ว่าจ้าง เป็นต้น

สัญลักษณ์ที่ใช้ใน รีเลชันชีพ (Relationship) คือ สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด และมีการตั้งชื่อความสัมพันธ์นั้นกำกับภายใน โดยชื่อที่กำกับจะต้องเป็นคำกริยา



- แอททริบิวต์ (Attribute) เป็นสิ่งที่ใช้อธิบายถึงคุณลักษณะของ Entity หนึ่งๆ เช่น Entity ของนักศึกษา จะประกอบไปด้วย Attribute ชื่อ สกุล, เพศ, ที่อยู่, เบอร์โทร, คณะ, สาขา, วิชา, วันที่เข้าเรียน เป็นต้น สมาชิกที่อยู่ใน Entity หนึ่ง ๆ จะต้องมี Attribute ที่เหมือนกัน
สัญลักษณ์ที่ใช้ใน แอททริบิวต์ (Attribute) คือ วงรี ในแอททริบิวต์ (Attribute) จะมีชื่อกำกับภายในที่เป็นคำนาม และ แอททริบิวต์ (Attributeใดเป็นคีย์หลักก็จะมีการขีดเส้นใต้แอททริบิวต์ (Attribute) นั้น ๆ

- คอมโพสิตแอทริบิวต์ (Composite Attribute) เป็นแอททริบิวต์ (Attribute) ที่สามารถแบ่งย่อยได้อีก เช่น Attribute ที่อยู่ สามารถแบ่งเป็น แอททริบิวต์ (Attribute) ย่อย ๆ ได้เป็น เลขที่ ถนน อำเภอ จังหวัด
สัญลักษณ์ที่ใช้ใน คอมโพสิตแอทริบิวต์ (Composite Attribute) จะเป็นวงรี เรียงกันออกไปเป็นย่อย ๆ

- แอทริบิวต์ที่มีหลายค่า (Multivalued Attribute) เป็นแอททริบิวต์ (Attribute) ที่สามารถมีได้หลายค่า เช่น คนหนึ่งสามารถมีวุฒิการศึกษาได้หลายระดับ เช่น ปริญญาตรี, โท, เอก เป็นต้น หรือ นักศึกษาหนึ่งคนอาจมีเบอร์โทรศัพท์ได้หลายเบอร์
สัญลักษณ์ที่ใช้ใน แอทริบิวต์ที่มีหลายค่า (Multivalued Attribute) จะใช้วงรีสองวงซ้อนกันแทนแอททริบิวต์ที่มีหลายค่า (Multivalued Attribute)

- ดีไรฟด์แอททริบิวต์ (Derived Attribute) เป็น แอททริบิวต์ (Attribute) ที่ได้มาจากการคำนวณจากแอททริบิวต์ (Attribute) อื่น โดยทั่วไปไม่ต้องจัดเก็บแอททริบิวต์ (Attribute) นี้ เช่น แอททริบิวต์ (Attribute) อายุ เนื่องจากสามารถคำนวณได้จากวันเดือนปีเกิด หรือ ยอดรวมของใบเสร็จในแต่ละใบ คำนวณได้จากรายการสินค้าในใบเสร็จ
สัญลักษณ์ที่ใช้ใน ดีไรฟด์แอททริบิวต์ (Derived Attribute) จะใช้เส้นประ ที่เชื่อมโยงไปยัง Derived Attribute

3. คอมโพสิตเอนทิตี้ (Composite Entity) มีความสำคัญอย่างไรในการออกแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
ตอบ :  สร้างขึ้นเพื่อแปลงความสัมพันธ์แบบ M: N มาเป็นแบบ 1: N โดยการนำเอาคีย์หลักของทั้งสองเอนทิตี้ (Entity) ที่ดีที่มีความสัมพันธ์แบบ M: N มารวมกับ แอททริบิวต์ (Attribute) อื่น ๆ ที่สนใจ เช่น เอนทิตี้ (Entity) การลงทะเบียนเป็นคอมโพสิตเอนทิตี้ (Composite Entity) ที่ถูกสร้างระหว่างเอนทิตี้ (Entity) นักศึกษา และวิชา โดยคอมโพสิตเอนทิตี้ (Composite Entity) จะแสดงด้วยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนอยู่ภายในด้วย

4. เอนทิตี้อ่อนแอ (Weak Entity) คืออะไร มีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ : เอนทิตี้ (Entity) ที่ไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้ โดยปราศจากเอนทิตี้ (Entity) ที่ดีที่มีความสัมพันธ์อยู่ และจะมีคีย์หลักจากการสืบทอดเอนทิตี้ (Entity) ที่พึ่งพิงอยู่ มาใช้เป็นคีย์หลักหรือส่วนหนึ่งของคีย์หลัก โดย Weak Entity จะใช้สัญลักษณ์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแต่จะเป็นเส้นคู่

5. จากตารางข้อมูลที่กำหนดให้
5.1 จงเขียน E-R Diagram แสดงความสัมพันธ์ของตาราง
ตอบ :  ขั้นที่ 1 ศึกษาข้อกำหนดของระบบงาน
ข้อมูลหนังสือแต่ละรายการ ข้อมูลที่จัดเก็บประกอบด้วย รหัสหนังสือ, ชื่อหนังสือ, รหัสผู้แต่ง, รหัสสำนักพิมพ์
ข้อมูลผู้แต่งหนังสือ ข้อมูลที่จัดเก็บประกอบด้วย รหัสผู้แต่ง , ชื่อผู้แต่ง
ข้อมูลสำนักพิมพ์ ข้อมูลที่จัดเก็บประกอบด้วย รหัสสำนักพิมพ์ , ชื่อสำนักพิมพ์, ที่อยู่, โทรศัพท์  
        ขั้นที่ 2 กำหนดเอนทิตี้ (Entity)
        ขั้นที่ 3 กำหนดความสัมพันธ์ของแต่ละเอนทิตี้ (Entity)
- หนังสือแต่ละเล่มจะถูกพิมพ์จากสำนักพิมพ์ใดสำนักพิมพ์หนึ่งเท่านั้นแต่ละสำนักพิมพ์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้หลายรายการ
- หนังสือแต่ละเล่มจะมีผู้แต่งได้เพียงคนเดียวเท่านั้นแต่ผู้แต่งแต่ละคนสามารถจะแต่งหนังสือได้หลายเล่ม
E –R Diagram ที่สมบูรณ์

5.2 จงบอกว่าแต่ละตารางมี Field ใดเป็น Primary Key
ตอบ :  - ในตารางผู้แต่งจะมี Field รหัสผู้แต่ง เป็น Primary Key
           - ในตารางสำนักพิมพ์จะมี Field รหัสสำนักพิมพ์ เป็น Primary Key
           - ในตารางหนังสือจะมี Field รหัสหนังสือ เป็น Primary Key
5.3 สำหรับตารางที่มี Foreign Key จงบอกว่าเป็น Field ใดและมีความสัมพันธ์กับ Field ใดในตาราง
ตอบ :  จากฐานข้อมูลของระบบหนังสือจะประกอบไปด้วยตาราง 3 ตาราง ซึ่งแต่ละตารางจะมี Field ที่เชื่อมโยงถึงกันทั้ง 3 ตาราง
          - ตารางผู้แต่ง (รหัสผู้แต่ง, ชื่อผู้แต่ง)
          - ตารางสำนักพิมพ์ (รหัสสำนักพิมพ์, ชื่อสำนักพิมพ์, โทรศัพท์)
          - ตารางหนังสือ (รหัสหนังสือ, ชื่อหนังสื่อ, รหัสผู้แต่ง, รหัสสำนักพิมพ์)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น